20 ส.ค. 2562

การทดลองปลูกผักหวานป่าแบบงดรับพี่เลี้ยง

สำหรับประสบการณ์ส่วนตัวของกระผมแล้ว การปลูกผักหวานป่าในภาคอีสาน เข้าใจสภาพดินภาคอีสาน ทดลองปลูกในหลายสภาพดิน จนจากเดิมที่เหลือแบบหมดใจว่า พี่เลี้ยงนี้แล่ะคือตัวการสำคัญทำให้ผักหวานป่ามันเติบโต และหาอาหารจากพี่เลี้ยง... แต่พอมาทดลองซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ผมเองก็เกิดความสงสัยที่เก็บไว้คนเดียว และเริ่มถามดังขึ้นเรื่อย ๆ ว่า 
1. ไต้ต้นไม้พี่เลี้ยงชนิดเดียวกัน เมื่อมี ท่านใดท่านหนึ่งแนะนำว่าปลูกแล้วสำเร็จ แต่ว่าคนอีกคนเอาไปทำตามโดยใช้วิธีเลือกไม้พี่เลี้ยงชนิดเดียวกันกับได้ผลแตกต่างกัน ความเชื่อผมก็ลดลงระดับนึง 
2. ใต้ต้นไม้พี่เลี้ยงต้นเดียวกันนี้เอง ทำไมผักหวานป่าหลาย ๆ หลุมที่อยู่ล้อมรอบต้นไม้พี่เลี้ยงทำไม โตไม่เหมือนกัน ทำไมบางต้นโต ทำไมบางต้นไม่โต ถ้าพี่เลี้ยงจะช่วย ทำไมไม่ช่วยให้เท่าเทียมกัน พี่เลี้ยงลำเอียง . ไม่เสมอภาคกัน 555 
3. ใต้ต้นไม้พี่เลี้ยงต้นเดียวกัน เมื่อพิจารณาสภาพดินแตกต่างกัน เตรียมหลุมปลูกแตกต่างกัน ผลการเติบโตกลับแตกต่างกันอย่างชัดเจน หลังจากนั้นมา ก็เริ่มสังเกต และทดลอง อยู่บ่อยครั้ง จนได้ "สูตรการปลูกแบบพระยืน" และคงพูดอย่างเดียวคงจะเหมือนไม่ค่อยเห็นภาพ ..วันนี้เลยต้องทดลองให้เห็นผลว่า ..ความจริง พี่เลี้ยง หรือร่มเงา  ... ความเชื่อ หรือ ความจริงกันแน่ะ 55 
     การทดลองนี้มีคนดูแคลนไว้ก็มาก.. แต่ผ่านมา 3 เดือนแล้ว เริ่มจะเห็นแววอยู่บ้าง.. ลุ้นกันต่อนะครับผม อีก 1 ปี แล้วมาสรุปผลการทดลองร่วมกัน 

19 เม.ย. 2561

เคยเชื่อเรื่องพี่เลี้ยงดูดกินน้ำเลี้ยงและช่วยให้ผักหวานป่าโต แต่ตอนนี้เฉย ๆ กับความเชื่อนี้

เมื่อก่อนเคยเชื่อว่าผักหวานป่า จะหาอาหาร และดูดแร่ธาตุจากต้นไม้พีเลี้ยงครับ แต่ว่า บางต้นไม่ก็ไม่เห็ฯจะโต เลยหันไปให้ความสำคัญกับการเตรียมดินหลุมปลูกเสียมากกว่า  
เริ่มต้นทดลองหลาย ๆ ครั้งแล้วยิ่งแน่ใจครับว่า การปลูกผักหวานป่าในสภาพดินหลวม หลุมลึก และไม่เป็นดินทราย ช่วยให้ผักหวานป่าโตไว กว่าที่จะไปพึ่งพี่เลี้ยงอย่างเดียว 


20 ก.พ. 2561

ปลูกผักหวานป่าแบบนอกกรอบ ผลงานที่ได้จะเป็นอย่างที่เห็น

บทเริ่มต้น 
การปลูกผักหวานป่าแบบเน้นที่หลุมปลูก ดินหลวม ร่วน ไม่ได้เน้นไม้พี่เลี้ยง เพราะบางทีเคยทดสอบหลาย ๆ สถานการณ์แล้ว พบกว่าพี่เลี้ยงก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย นอกเสียจากร่มเงา วันนี้เอาผลการทดลองที่ทดลอง เกือบ 8 เดือนมาให้ได้ชมกัน 




และอีก 8  เดือนถัดมา ก็ปรากฏภาพเช่นนี้ครับ การปลูกผักหวานป่าแบบไม่มีไม้พี่เลี้ยงใด ๆ ก็เป็นแบบนี้ 


7 ก.ย. 2560

ติดตามความคืบหน้าสวนผักหวานป่า ริมบึงบ้านเป็ด

นับตั้งแต่ปลูกเมื่อวันพืชมงคล ฤกษ์งามยามดีของสวนผักหวานป่าของ อาจารย์ชูชาติ ริมบึงบ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่น ตอนนี้ก็เข้าเดือนที่ 4 แล้ว ผมเองเลยถึงโอกาสไปเยี่ยมสวนสักหน่อยครับ


18 มิ.ย. 2560

ปลูกผักหวานป่าแบบยกร่อง

เมื่ออยู่ในสภาพที่เป็นดินทรายหากไม่มีเครื่องมือในการขุด สิ่งที่ทำให้หน้าดินหลวมอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างหน้าดินหลวมด้วยการยกร่อง ตัวอย่างนี้ ได้จากสวนที่ จ.อุดร ใช้รถไถ หลาย ๆ รอบ และใส่ปุ๋ยขี้วัว ขี้ไก่ จำนวนมาก (รวมน่าจะเป็นร้อยกระสอบได้ครับ )  สวนนี้ผมให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มต้น .. เพราะเจ้าของไม่มีประสบการณ์ในการปลูกเลย ทุกอย่างเริ่มต้นจาก 0 ทั้งหมด แล้วค่อยติดตามเรื่อง ๆ นะครับ

ตอนนี้เริ่มปลูกได้ประมาณ 20 วันแล้วครับ รากเริ่มงอก แต่รอสักพักถึงจะมีต้นอ่อน

15 มิ.ย. 2560

สวนผักหวานป่าพ่อบุญพร้อม(บุรีรัมย์) ตอนกิ่งได้ตอนอายุปีเศษ ..แต่ทำเพียงแค่อยากรู้

เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เข้าหน้าฝน ผมมีความอยากรู้ อยากลอง ว่าผักหวานป่าที่เราสามารถทำให้มันโตได้ในช่วงของการปลูกปีแรก ๆ นั้น เราจะต่อยอดการขยายพันธ์ุด้วยวิธีการตอน โดยที่เลือกตอนกิ่งในต้นผักหวานป่าที่อายุไม่ถึง 2 ปี ว่ามันจะเป็นอย่างไร ..ผลที่ได้เห็นคือ ตอนกิ่งได้ แต่เมื่อได้ลองตอนกิ่งอย่างต่อเนื่องและเอาต้นกล้าจากกิ่งตอนมาลงปลูกแล้ว ก็รู้ ๆ หลาย ๆ คำตอบ ทำให้ผมกลับไปสรุปการปลูกผักหวานป่าแบบเป็นขั้นตอนคือ สำคัญที่สุดคือ หน้าดินหลวม ลึก มีแร่ธาตุ ร่วน หลีกเลี่ยงดินทรายจัด จัดการหน้าดินดาน ให้ได้ เตรียมร่มเงา ไม้พี่เลี้ยง และปลูกด้วยเมล็ด (การปลูกเป็นขั้นตอนสุดท้าย)  ส่วนการตอนกิ่งนั้น ก็ทำเล่น ๆ และไม่จริงจัง ถือว่ารู้คำตอบแล้วว่า ..ตอนหน้าฝน .. สร้างความแข็งแรงต้นกล้า  เตรียมหลุมปลูก ลงปลูกกิ่งตอน สะสมความสมบูรณ์ของรากและลำต้นอีก 2 ปี .. ซึ่งตรงนี้เองทำให้ผมย้อนกลับไปเริ่มต้นที่จัดการกับดิน (โดยเฉพาะในภาคอีสาน) แล้วปลูกด้วยเมล็ด .. และผมเริ่มมาตั้งข้อสงสัย ว่าความเชื่อในการปลูกผักหวานป่าหลาย ๆ ทฤษฏี (ขอไม่กล่าวถึง) อาจจะเป็นเพียงความเชื่อและความบังเอิญ (ความเชื่อของผมก็เช่นกัน) ฝากไว้เท่านี้ครับ 


ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 สวนผักหวานป่าบ้านพระยืน

ผ่านไปแล้ว 2 ปีเต็มของสวนผักหวานป่าบ้านพระยืน และกำลังจะย่างเข้าสู่ปีที่ 3 สวนของเรายังเป็นต้นแบบการปลูกผักหวานป่าในเขตภาคอีสาน เน้นการเตรียมดินเป็นสิ่งสำคัญ คือ ดินจะต้องหลวม ลึก มีแร่ธาตุ ไม่เป็นดินทราย ไม้ร่มเงา ให้แสงพอดี จะเป็นต้นอะไรก็ได้ ไม้พี่เลี้ยงแต่ละชนิด ก็มีความแตกต่างกันไป  ยกตัวอย่างเช่น ตะขบ ปลูกง่าย โตไว ร่มเงาดี แต่บางทีต้องมีตัดแต่ง รักษาความชื้นได้ดี อายุปานกลาง , ต้นแค โตไว ทันใช้งาน หน้าแล้งทิ้งใบ อายุสั้น, ต้นมะขามเทศ โตช้ากว่าเขา แต่ว่าอายุยืนกว่าเขา ผักหวานป่าควรได้รับแสงแดดในครึ่งวันเช้า ส่วนแสงยามบ่ายเป็นแสงที่มีอุณหภูมิสูง ผักหวานป่าจะมีอาการใบเหลืองและการเติบโตจะช้า  

22 พ.ค. 2560

ได้มาแล้ว เมล็ดผักหวานป่าปี 60

ปีนี้ผมได้มา 22 กิโลกรัมครับ สุกพอดีปลูก เมล็ดโตมาก อย่างที่เห็น ปลูกซ่อม แปลงเดิมที่บุรีรัมย์และที่พระยืน


15 พ.ค. 2560

ครงรอบ 2 ปี สวนผักหวานป่าบ้านพระยืน

เมื่อวันพืชมงคลปี 58 ผมเริ่มทำการปลูกผักหวานป่าที่สวนพระยืน ในส่วนของด้านหน้าสวน และเริ่มทำเงียบ ๆ โดยไม่ได้ประกาศบอกใครนัก หลาย ๆ คนก็เริ่มสงสัยว่าปลูกอะไร ทำไมต้องมีเข่ง ทำไมต้องมีต้นไม้ให้ร่มเงา และก็เริ่มเฉลยมาเรื่อย ๆ ว่าสวนแห่งนี้ ได้ผลเป็นอย่างไร ..



เมื่อเริ่มต้นปลูกผักหวานป่า ปี 58 






สวนผักหวานป่าบ้านพระยืนปี 60 

ลงมือปลูกผักหวานป่า ที่สวนผักหวานป่าบ้านเป็ด

สวนผักหวานป่าบ้านเป็ด (ผมตั้งชื่อให้เองเลย) เริ่มต้นนับ 1 แล้วครับ วันพืชมงคล ของปี 60 และผมเชื่อว่า อีก 2 ปีข้างหน้า สวนแห่งนี้จะเป็นที่มีผักหวานป่าขยายเต็มสวนไปหมด .. ผมมองเห็นอนาคตอย่างนั้นเลย เพราะด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกหลาย ๆ อย่าง ที่เอื้อต่อการเติบโตเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ และการเตรียมหลุมปลูก


มีผู้จัดการสวนผักหวานป่าบ้านพระยืนมาร่วมเป็นเกียรติในการปลูกด้วย 555


..เริ่มเห็นหนทางแล้ว..

ไม่กี่วันที่ผ่านมา อ.ชูชาติ ที่ไปดูงานสวนผักหวานป่าพระยืน หลังจากแลกเปลี่ยนวิธีการปลูกแล้ว ..แววตามีประกาย ว่าใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ที่ผ่านมาหลงทางตาม youtube ตั้งนาน ปลูกไม่สำเร็จสักที มาตอนนี้เริ่มมั่นใจมากขึ้น เลยเชิญผมไปชมสถานที่ปลูกผักหวาน โดยเริ่มปลูกแปลงเล็ก ๆ เสียก่อน เนื้อที่ประมาณสิบกว่าตารางวา (เพราะว่าสงวนไว้ทำอย่างอื่น ..) พอผมไปเห็นที่ดิน สภาพที่ดิน น้ำ แล้วฟันธงทันที ว่าได้แน่นอน 100 ด้วยสูตรดินหลวม มีไร่ธาตุ ร่วน ปลูกด้วยเมล็ด วันนี้ อ.ชูชาติ จัดรถขุด ทุ่นแรงได้เยอะเลย .. เตรียมหลุม แล้วรองก้นหลุมด้วย ใบไม้ ฟาง ปุ๋ย  ผมมีหน้าที่จัดหาเมล็ดให้อาจารย์ชูชาติได้ปลูกผักหวานตามความต้องการ  เตรียมตัวดีแบบนี้ รับรองได้ผลแน่นอนครับ ฟันธง..





เปิดสวนดูงาน

วันนี้ใกล้จะครบรอบ 2 ปี ของการปลูกผักหวานป่า ของสวนผักหวานป่าบ้านพระยืนแล้วครับ มีหลายคนให้ความสนใจแวะมาชมสวนผักหวานป่า เป็นระยะ ๆ วันนี้ก็เช่นกัน ได้รับเกียรติจาก อ.ชูชาติ ท่านเกษียณอายุแล้ว ทำสวนริมบึงบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ท่านสนใจปลูกผักหวานป่า จึงได้เดินทางมาดูที่สวนและแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องการปลูก เห็นแล้ว ท่านบอกว่า ต้องลองสูตรการปลูกแบบสวนพระยืนบ้าง






10 พ.ค. 2560

มือใหม่หัดปลูกผักหวานป่า.. เริ่มต้นยังไงดี

จากที่หลาย ๆ คนโทรมาสอบถาม ว่าอยากได้เมล็ดมาปลูกผักหวานป่า ..แต่สิ่งหนึ่งที่ยังขาดไปคือการเตรียมดินและหลุมปลูกผักหวานป่า .. วันนี้เลยขอนำเสนอขั้นตอนการปลูกผักหวานป่าที่เป็นขั้นเป็นตอน เพื่อให้คนที่สนใจปลูกผักหวานป่า เตรียมตัวในการปลูก ไม่เสียเวลา การปลูกได้ผล ไม่ปลูกเสียเที่ยว

สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ
1. เตรียมหลุมปลูก เตรียมดิน หน้าดินจะต้องหลวม เกินกว่า 50 ซม. กว้าง 50 ซม.  ถ้าหน้าดินแข็งจะต้องจัดการกับหน้าดินดานเสียก่อน จะเป็นการขุด การใช้เครื่องจักร ก็สุดแล้วแต่จะทำครับ (ถ้าดินอีสาน ลำพังการแทงเหล็กแหลม หรือการขุดตื้น ๆ ไม่ได้ผลแน่นอน)

2. เมื่อเตรียมหน้าดิน เตรียมหลุมแล้วก็จะต้องทำการเติมปุ๋ยคอก เติมอินทรีย์วัตถุในหลุมปลูก คลุกให้เข้ากัน

3. ระบบน้ำ การให้น้ำผักหวานป่าสำคัญมากในปีแรก เพราะมีโอกาสกับการปลูกแต่ว่าช่วงหน้าฝน อาจจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ดังนั้นจะต้องทำการป้องกันไว้ก่อน ดีกว่าจัดหาน้ำยามฝนแล้ง

4. เตรียมไม้พี่เลี้ยง ให้ร่มเงา แปลงปลูกผักหวานป่านั้นจะต้องมีร่มรำไร ตำแหน่งที่ปลูกผักหวานจะต้องได้รับแสงยามเช้าไปหาเที่ยง และร่มในช่วงบ่าย

5. จัดหาเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่า  คนที่จะปลูกผักหวานป่า จะต้องจำไว้เสมอเลยว่า ผักหวานป่า ออกเมล็ด ปีละครั้งเท่านั้น โดยจะออกดอก ประมาณเดือน มกราคม - กุมภาพันธุ์ และไปสุกประมาณ กลางเดือนเมษายน - กลางเดือนพฤษภาคม เพราะฉะนั้น จะต้องหาไว้แต่เนิ่น ๆ จองไว้แต่เนิ่น ๆ  บางสวนจองตั้งแต่ปีใหม่ ..ได้รับเมล็ด เดือนพฤษภาคม ปีถัดไปก็มีครับ .. ดังนั้นนอกเหนือจากช่วงเวลาที่กล่าวมา อย่าไปหา..เพราะยังไงก็ไม่มี